อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ย้อนกลับไปตอนก่อนๆที่เดินทางตามดู 10 อุทยานประวัติศาสตร์ แล้วก็เว้นว่างไปนาน

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตอน 1 ตอน 2

ช่วงกลางปีได้ไปอีกทีช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์เนื่องจากพาเด็กดอยไปหาหมอฟันที่ขอนแก่น เลยขอผ่านไปแวะ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งที่ 9 “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” ถือเป็นจุดหมายปลายทางของทริปพาเด็กดอยทำฟันละ

ตอนแรกคิดว่าไม่มีอะไรเพราะหารูปใน google ก็ไม่มีรูปอะไรให้ดูเท่าไหร่ เอาแค่ครึ่งวันระหว่างที่เด็กดอยรอหมอฟันก็พอเพียงเหลือแหล่ ที่นี่มีร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ โดยการอาศัยอยู่ในเพิงหิน และรูปเขียนสีที่มีอายุกว่า 2,000 – 3,000 ปีก่อน ทั้งยังพบอารยธรรมสมัยทวารวดี-ลพบุรี และล้านช้าง ดังนี้เองเราจะได้เห็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคสมัยต่างๆในที่เดียว

UPDATE !!! มีโอกาสได้ไปเที่ยวที่นี่อีก (ไม่ใช่โอกาสหรอก ตั้งใจไปเก็บตกน่ะแหล่ะ) ตอนแรกว่าจะต่อของเดิม แต่เก็บนุ่นนิดนี่หน่อย เอาไปแทรกของเดิมดีกว่า รูปที่ไปเที่ยวรอบใหม่นี่คือรูปที่ไม่มีลายน้ำนะ

วิวระหว่างทาง ไปแบบเสียวๆ ป้ายมีมั่ง ไม่มีมั่ง (ขาไปเลือกไปทางรองไม่ผ่านตัวจังหวัดอุดรฯเพราะใกล้กว่าเกือบ 30 กิโลฯ)

วิวระหว่างทาง ไปแบบเสียวๆ ป้ายมีมั่ง ไม่มีมั่ง (ขาไปเลือกไปทางรองไม่ผ่านตัวจังหวัดอุดรฯเพราะใกล้กว่าเกือบ 30 กิโลฯ)

เจอป้ายยังงี้ค่อยอุ่นใจ มาถูกทางละ

เจอป้ายยังงี้ค่อยอุ่นใจ มาถูกทางละ

ถึงแล้ว

ถึงแล้ว

วัดลูกเขย

วัดลูกเขย

ภายใน

ภายใน

ป้ายบอกทางได้แค่มอง เวลาไม่มีถ้าไปคงไม่ทัน

ป้ายบอกทางได้แค่มอง เวลาไม่มีถ้าไปคงไม่ทัน

ระหว่างทาง

ระหว่างทาง

วัดพ่อตา

วัดพ่อตา

แถวนั้น

แถวนั้น

ลานหินหน้าวัดพ่อตา

ลานหินหน้าวัดพ่อตา

หีบศพนางอุสา

หีบศพนางอุสา

หีบศพท้าวบารส

หีบศพท้าวบารส

หีบศพพ่อตา

หีบศพพ่อตา

ถ้ำช้าง ภายในมีภาพเขียนโบราณ แต่หาไม่เจอ

ถ้ำช้าง ภายในมีภาพเขียนโบราณ แต่หาไม่เจอ

ถ้ำมือแดงในบริเวณเดียวกัน (ทำไมไปครั้งก่อนมองไม่เห็น) มีรูปมือกับตาข่ายของคนโบราณก่อนพุทธศักราช 2,000-3,000 ปี ตอนหลังเปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานในยุคทวารวดี

ถ้ำมือแดงในบริเวณเดียวกัน (ทำไมไปครั้งก่อนมองไม่เห็น) มีรูปมือกับตาข่ายของคนโบราณก่อนพุทธศักราช 2,000-3,000 ปี ตอนหลังเปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานในยุคทวารวดี

หากมองไม่เห็นเป็นมือลองแบมือขวาแปะที่กลางจอดูนะ

หากมองไม่เห็นเป็นมือลองแบมือขวาแปะที่กลางจอดูนะ

ตาข่ายนี่ชัดเจน

ตาข่ายนี่ชัดเจน

ถ้ำพระ

ถ้ำพระ

เออ แกะแบบนี้ค่อยดูเนียนหน่อย

เออ แกะแบบนี้ค่อยดูเนียนหน่อย

ใหม่ชัดๆ

ใหม่ชัดๆ

หอนางอุสา จุดขายของที่นี่

หอนางอุสา จุดขายของที่นี่

...

กู่นางอุสา (มีหีบศพแล้ว ทำไมมีกู่อีก ?)

กู่นางอุสา (มีหีบศพแล้ว ทำไมมีกู่อีก ?)

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

หินในบริเวณ

หินในบริเวณ

ลานหิน

ลานหิน

เพิงหินนกกระทา

เพิงหินนกกระทา

เขาว่ามีร่องรอยแกะพระพุทธรูปที่ถูกขูดออกอยู่

เขาว่ามีร่องรอยแกะพระพุทธรูปที่ถูกขูดออกอยู่

คอกม้าน้อย

คอกม้าน้อย

คอกม้าท้าวบารส

คอกม้าท้าวบารส

ถ้ำปู่เจ

ถ้ำปู่เจ

ถ้ำพระ

ถ้ำฤาษี

ถ้ำวัว มีลยเขียนรูปวัวของคนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ชัดเจน

ถ้ำวัว มีลยเขียนรูปวัวของคนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ชัดเจน

ถ้ำคนข้างๆกัน เป็นตัวเป็นตนดี

ถ้ำคนข้างๆกัน เป็นตัวเป็นตนดี

...

ทางเข้ามีส่วนพิพิธภัณฑ์ มีของเก่าที่เขานำมาเก็บไว้ในนี้

ทางเข้ามีส่วนพิพิธภัณฑ์ มีของเก่าที่เขานำมาเก็บไว้ในนี้

แบบจำลองถ้ำต่างๆ

แบบจำลองถ้ำต่างๆ

ทางป้ายฝั่งขวา ม่ไกล แต่เสียดายไม่มีเวลาละ

ทางป้ายฝั่งขวา ม่ไกล แต่เสียดายไม่มีเวลาละ สงสัยที่นี่ต้องมีรอบ 2

พระพุทธบาทบัวบก

ชื่อนี้เพราะคาดว่าแต่ก่อนมีบัวบกเยอะ ที่นี่ไม่เก่าเท่าไหร่ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2460 – 2473 นี้เอง

พระพุทธบาทบัวบก

พระพุทธบาทบัวบก

ศิลปะแบบล้างช้าง

ศิลปะแบบล้างช้าง

ภายใน...

ภายใน…

...เง้อ

…เง้อ

ครั้งก่อนหนทางช่างยาวไกล เลยไม่ได้ไปดู คราวนี้มีเวลาครึ่งวัน เอาสักหน่อย

ครั้งก่อนหนทางช่างยาวไกล เลยไม่ได้ไปดู คราวนี้มีเวลาครึ่งวัน เอาสักหน่อย

ทางเดินไปรอยพระบาทหลังเต่านี้เขาวางหินเป็นแนวทางให้เดินไว้

ทางเดินไปรอยพระบาทหลังเต่านี้เขาวางหินเป็นแนวทางให้เดินไว้

ภาพเขียนสีโนนสาวเอ้

ภาพเขียนสีโนนสาวเอ้

บนแผ่นหินขนาดใหญ่นั่นมีร่องรอยการขีดเขียนของคนโบราณอยู่เต็มไปหมด

บนแผ่นหินขนาดใหญ่นั่นมีร่องรอยการขีดเขียนของคนโบราณอยู่เต็มไปหมด

ภาพเขียนสีกลุ่มเพิงหินด่านใหญ่ เขาว่ามีรอยยึกยืออยู่หกจุด แต่ตรงนี้หาไม่เจอสักจุด

ภาพเขียนสีกลุ่มเพิงหินด่านใหญ่ เขาว่ามีรอยยึกยืออยู่หกจุด แต่ตรงนี้หาไม่เจอสักจุด

ดอกตะบองเพชร

ดอกตะบองเพชร

แถวนี้นอกจากกลุ่มเรา ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยแฮะ

แถวนี้นอกจากกลุ่มเรา ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยแฮะ

ภาพเขียนสีกลุ่มห้วยหินร่อง

ภาพเขียนสีกลุ่มห้วยหินร่อง

ส่วนที่แกะเพิ่ม

ส่วนที่แกะเพิ่ม

ถึงแล้วรอยพระบาทหลังเต่า ที่มาของชื่อเพราะหินมันเป็นรอยคล้ายพระบาทใกล้กับหินรูปหลังเต่า ชาวบ้านเลยไปแกะสลักตรงกลางเพิ่มเติมเลย หาที่มาไม่เจอ แต่คิดว่าไม่น่ามีมานานเท่าไหร่หรอก

ถึงแล้วรอยพระบาทหลังเต่า
ที่มาของชื่อเพราะหินมันเป็นรอยคล้ายพระบาทใกล้กับหินรูปหลังเต่า ชาวบ้านเลยไปแกะสลักตรงกลางเพิ่มเติมเลย หาที่มาไม่เจอ แต่คิดว่าไม่น่ามีมานานเท่าไหร่หรอก

ผาสวรรค์ตอนไปกลัวหมดแรงเลยเดินเลยไปก่อน ขากลับรู้ว่ายังไหวเลยไปชมวิวสักหน่อย

ผาสวรรค์ตอนไปกลัวหมดแรงเลยเดินเลยไปก่อน ขากลับรู้ว่ายังไหวเลยไปชมวิวสักหน่อย

...วิวข้างล่างไม่สวยเท่าไหร่หรอกนะ

…วิวข้างล่างไม่สวยเท่าไหร่หรอกนะ

พระพุทธบาทบัวบาน

พระพุทธบาทบัวบาน

ที่เป็นของเก่าก็รอยพระบาท กับใบเสมาอ่ะนะ น่าจะช่วงยุคทวารวดีน่ะแหล่ะ

ที่เป็นของเก่าก็รอยพระบาท กับใบเสมาอ่ะนะ น่าจะช่วงยุคทวารวดีน่ะแหล่ะ

แวะกินกลางวันตอนบ่ายสองโมง นัดเด็กดอยไว้เที่ยงต้องรีบละ รอแหง่วเลย 555

แวะกินกลางวันตอนบ่ายสองโมง นัดเด็กดอยไว้เที่ยงต้องรีบละ รอแหง่วเลย 555

ไปอีกทีก็เสร็จช่วงบ่ายเวลามื้อกลางวันก็เสร็จที่นี่อีกแหล่ะ แต่คราวนี้ไม่เอาก๋วยเตี๋ยวละ เอาอาหารละกัน ปรากฎว่า ให้เยอะและอร่อยครับ (หรือเพราะคราวนี้เดินเยอะเลยหิวมาก 555)

ไปอีกทีก็เสร็จช่วงบ่ายเวลามื้อกลางวันก็เสร็จที่นี่อีกแหล่ะ แต่คราวนี้ไม่เอาก๋วยเตี๋ยวละ เอาอาหารละกัน ปรากฎว่า ให้เยอะและอร่อยครับ (หรือเพราะคราวนี้เดินเยอะเลยหิวมาก 555)

กลับมาถึงกทม.วิ่งไปพันกว่าโล

กลับมาถึงกทม.วิ่งไปพันกว่าโล

หลังจากชมที่นี่จบแล้วยังมีอีกหลายที่ให้เที่ยว แต่เนื่องจากเดินไกล และต้องไปรีบเด็กดอยที่รอแหง่วอยู่ที่เซนทรัลขอนแก่นกว่า 3 ชั่วโมง จึงต้องรีบกลับละ บางท่านอาจสงสัย “แล้วนางอุสานี่มันใครฟระ ?” ที่จริงบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานในยุคทวารวดีช่วงปีพุทธศตวรรษที่ 14 -16 จากใบเสมาเก่าที่อยู่รอบบริเวณ ส่วนนิทานท้าวบารสเป็นนิทานที่เอามาแต่งใส่ในภายหลัง จากนิทานพื้นบ้านเรื่อง อุสาบารส เนื้อหาคือกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองพานปกครองโดยพระยาพาน พระยาพานมีลูกสองคนคือท้าวพานนา และนางสมัญญา วันหนึ่งพระยาพานเดินเล่นในป่า และได้พบกับเด็กหญิงหน้าตาดีชื่อว่านางอุสาที่ถูกเลี้ยงดูโดยฤาษี พระยาพานถูกใจนางอุสามากจึงอยากขอตัวมาเป็นลูก ลูกแท้ๆอย่างท้าวพานนาและนางสมัญญาก็รักนางอุสาดุจพี่น้องท้องเดียวกัน เมื่อนางอุสาโตเป็นสาวงดงามมากจนร่ำลือไปไกลถึงพระยาไกลาสผู้ครองเมืองภูเงิน พระยาไกรลาสอยากได้นางอุสามาเป็นมเหสีจึงนำทองคำและเงินมาถวายพระยาพานเพื่อขอนางอุสาไปเป็นมเหสีแต่นางอุสาปฏิเสธพระยาไกรลาสจึงคอตกกลับบ้านไป (คือจะบอกว่าสวยเลือกได้)

จนวันหนึ่งท้าวบารสพระราชบุตรของพระยากิตติกรนารายณ์สี่มือเจ้าเมืองปะโคเดินป่าจนมาถึงไทรใหญ่แล้วหยุดพักผ่อนบริเวณนี้และสั่งให้เสนาอำมาตย์ตั้งเครื่องเซ่นสังเวยเทวดาอารักษ์ท้องถิ่นทั้งหลาย เหล่าเทวดาจึงตอบแทนท้าวบารสโดยการพาท้าวบารสที่กำลังหลับอยู่ไปไว้ในหอของอุสา เมื่อตื่นขึ้นทั้งสองได้พบกันก็ปิ๊งๆๆและกินอยู่กันบนนั้นเป็นเวลา 7 คืน ในวันที่ 8 เทวดาก็พาท้าวบารสกลับไปไว้ที่ต้นไทรใหญ่เหมือนเดิม และเดินทางกลับเมืองปะโค พอนางอุสาตื่นขึ้นไม่พบท้าวบารส ถามใครก็ไม่มีใครรู้ จึงไปคุยกับนางสมัญญา ด้วยความเอ็นดูและสงสารนางอุสาจึงวาดรูปกษัตริย์เมืองต่าง ๆ ให้ดูจนมาถึงรูปของท้าวบารสพระราชบุตรแห่งเมืองปะโคนางอุสาเห็นแล้วก็เป๊ะเลย คนนี้แหล่ะนางอุสาจึงรีบเขียนจดหมายไปถึงท้าวบารส ทันทีที่ท้าวบารสได้รับจดหมายจึงควบม้ามาหาทันที

เมื่อทั้งสองได้พบกันอีกครั้งก้กินอยู่กันในหอนางอุสาร่วมเดือน เมื่อพ่อตาอย่างพระยาพานทราบก็โกรธจัด สั่งจับตัวท้าวบารสไปขังไว้ ทันใดนั้นฤาษีจิตสัมผัสถึงเลยเดินทางเข้าวังขอให้พระยาพานปล่อยท้าวบารส แต่ก็ไม่สำเร็จจึงได้เดินทางไปบอกพระยากิติกรนารายณ์ เมื่อพ่อท้าวบารสได้รู้ข่าวจึงเขียนจดหมายเตือนพระยาพานไปว่า “ถ้าไม่ปล่อย มีบุก” พระยาพานไม่สนใจ “อยากบุกก็บุกมาสิ” จึงเกิดศึกระหว่างเมืองพานกับเมืองปะโค จนสุดท้ายพระยาพานเป็นฝ่ายแพ้และถูกฆ่าตาย ภายหลังนางอุสาได้ไปอยู่กับท้าวบารสที่เมืองปะโคแต่ต้องตรอมใจตลอดเวลาเพราะถูกนางสนมกระแนะกระแหน อีกทั้งท้าวบารสได้แล้วก็ไม่เอาใจใส่นางดั่งที่เคยอยู่ด้วยกันที่หอนางอุสา จนสุดท้ายตัดสินใจหนีกลับเมืองพานแต่ก็ยังอาลัยอาวรณ์คิดถึงท้าวบารสจนป่วย ท้าวพานนาและนางสมัญญาที่ดูแลอยู่จึงงแจ้งข่าวไปยังท้าวบารส เมื่อท้าวบารสทราบข่าวว่าจึงรีบบึ่งไปหานางอุสา แต่ช้าไปในระหว่างที่เดินทางอยู่นั้นนางอุสาช้ำใจตายไปแล้ว ท้าวพานนาและนางสมัญญารู้สึกสะเทือนใจก็เลยตายไปด้วย พอท้าวบารสเดินทางมาถึงรู้สึกผิดที่สามคนต้องตายก็เลยตรอมใจตายตามไปอีกคน การตายตามๆกันนี่เขาถือว่าเป็นความรักที่ทุกคนมีต่อกันอย่างบริสุทธิ์ทั้งหมดจึงได้ไปสวรรค์ จบ…ตอนจบตายหมด แหม่ เอานิทานของลาวมาเป็นหลักของอุทยานประวัติศาสตร์เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์มรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม เวบเขาทำไว้ทั้งแผนที่ค่อนข้างดีเลย แวะไปชมทางนี้ หรือทางนี้

 

2 responses to “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

  1. Pingback: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง | Blog my Log·

  2. Pingback: Travel Wish list ประเทศไทย | Log 2 Blog·

Leave a comment