นครราชสีมาโบราณ

เมื่อ 5 เดือนก่อน (เวลาผ่านไปไวหยั่งกะโกหก) ได้มีโอกาสไปเก็บตกโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา จากครั้งที่แล้วไปแค่ตัวไฮไลท์อย่าง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ครั้งนี้ไปในทริปพาเด็กดอยทำฟัน + พายายเที่ยวอีสาน โดยทริปนี้จุดหมายคืออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ก็ว่าจะเก็บอุทยานประวัติศาสตร์ให้ครบนี่นะเลยแบ่งเป็นสองส่วน [อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท + โคราชส่วนเหนือ] กับ [อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทหินพนมรุ้ง+ โคราชส่วนใต้] อันนี้เลยจัดทริปแรกซะ อันหลังมันไกล ไว้ไปช่วงหยุดยาวหน่อย +ฟ้าใสๆ

ว่าแล้วก็จัดทริปไตรภาค วันหยุดเสาร์-อาทิตย์กันเลย

เมืองรายทางแถวโคราชนี้เห็นว่าไปยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกอยู่ในนามของเส้นทางวัฒนธรรมแปะพ่วงกับปราสาทหินพิมาย มีอะไรมั่งไปดูกัน ที่มาของชื่อจังหวัดนครราชสีมาก็มาจากที่นี่มีสีมาเต็มไปหมดจึงเป็น “เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมา” ส่วนคำเรียกติดปากว่าโคราชนั้นคาดว่าเป็นชื่อที่เก่ากว่า เพราะมาจากคำว่า “นครราด” หรือ “เมืองราด” ในตำนานเหนือที่พ่อขุนผาเมืองมักติดต่อกับพระนคร ผ่านทางเมืองนี้ก็บ่อย ในภาษาเขมรคืออังกอร์ราด พอเรียกสั้นๆก็เป็นกอร์ราด-โคราด-โคราช นั่นเอง

แวะกินข้าวก่อนข้างทาง ถ้าจำไม่ผิดที่ร้านดุสิตามั้ง

แวะกินข้าวก่อนข้างทาง ถ้าจำไม่ผิดที่ร้านดุสิตามั้ง

พระพุทธไสยาสน์วัดธรรมจักรเสมาราม

เป็นพระนอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 ทำด้วยหินทรายเรียงซ้อนกันจนเป็นรูปร่างประกอบกับแกะสลักบางส่วน ยาวประมาณ 13.30 เมตร

หน้าแตกต่างจากที่อื่นชัดเจน

หน้าแตกต่างจากที่อื่นชัดเจน

พระนอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระนอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

รูปเก่าตอนขุดพบ

รูปเก่าตอนขุดพบ

เมืองเสมา (Muang Sema)

เมืองเสมานี้คาดว่ามีอายุมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ตามศิลาจารึกที่ค้นพบจากโบราณสถานบ่ออีกา เชื่อว่าในสมัยนั้นมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรศรีจนาศะ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมโบราณดังจารึกที่พบในเมืองมีการกล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ด้วย (ครองราชย์ช่วงปี พ.ศ. 1511 – 1544) ปัจจุบันเมืองสีมาตั้งอยู่ ตำบลสีมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

คูเมืองและแนวกำแพงดินเดิม

คูเมืองและแนวกำแพงดินเดิม

โบราณสถานหมายเลข 1 คาดว่าสร้างในสมัยขอม

โบราณสถานหมายเลข 1 คาดว่าสร้างในสมัยขอม

โบราณสถานหมายเลข 1 คาดว่าสร้างในสมัยขอม

โบราณสถานหมายเลข 1 คาดว่าสร้างในสมัยขอม

หมายเลข 2

หมายเลข 2

หมายเลข 3 คาดว่าสร้างในสมัยทวารวดี

หมายเลข 3 คาดว่าสร้างในสมัยทวารวดี

หมายเลข 4 ทวารวดีอีกเช่นกัน

หมายเลข 4 ทวารวดีอีกเช่นกัน

ปราสาทเมืองแขก (Prasat Muang Khack)

ปราสาทเมืองแขกคาดว่าน่าจะเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ก่อสร้างช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐและหินทราย

...

ปราสาทเมืองแขก

ปราสาทเมืองแขก

ปราสาทเมืองแขก

ปราสาทเมืองแขก

ปราสาทเมืองเก่า (Prasat Muang Kao)

ปราสาทเมืองเก่าเป็นอโรคยาศาลที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สั่งให้สร้างขึ้น มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมล้อมด้วยกำแพง มีทางเข้าออกทางเดียว ด้านนอกมีบ่อน้ำตามการสร้างปราสาทของขอม

ปราสาทเมืองเก่า

ปราสาทเมืองเก่า

...

ปราสาทโนนกู่ (Prasat Non Ku)

ปราสาทโนนกู่มีลักษณะศิลปะแบบเขมรโบราณ คาดว่าสร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นโบราณสถานขนาดเล็กคาดว่าใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์

ปราสาทโนนกู่

ปราสาทโนนกู่

ปราสาทโนนกู่

ปราสาทโนนกู่

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท (Ban Prasat Prehistoric Site)

เป็นแหล่งที่คนโบราณเขาตั้งรกรากแถวนี้เมื่อราว 3,000 ปีมาก่อนน่ะนะ ภายในก็มีพวกกระดูกกับเครื่องปั้นดินเผา แต่ละแวกนี้เองก็ได้รับอิทธิพลของทวารวดีและขอมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ทำให้พบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมดังกล่าวบ้างเหมือนกัน

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตอนขับ/นั่งรถมาขอนแก่นผ่านเล็งไว้หลายทีละ ได้มาสักที

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตอนขับ/นั่งรถมาขอนแก่นผ่านเล็งไว้หลายทีละ ได้มาสักที

ภายในมีอาคารจัดแสดงอยู่ บริเวณขับรถวนรอบไม่กว้างมากเท่าไหร่

ภายในมีอาคารจัดแสดงอยู่ บริเวณขับรถวนรอบไม่กว้างมากเท่าไหร่

การขุดสำรวจ จะเห็นว่ามีศิลปะแบบทวารวดีที่ขุดพบในเขตนี้ด้วย

การขุดสำรวจ จะเห็นว่ามีศิลปะแบบทวารวดีที่ขุดพบในเขตนี้ด้วย

เครื่องปั้นดินเผาลายคาดเชือก

เครื่องปั้นดินเผาลายคาดเชือก

หุ่นจำลองชีวิตโบราณ

หุ่นจำลองชีวิตโบราณ

หลุมขุดค้นที่ 1

หลุมขุดค้นที่ 1

...

หลุมขุดที่ 2-3 ไม่ใหญ่มาก

หลุมขุดที่ 2-3 ไม่ใหญ่มาก

...

ศิลปะที่ว่าพบในนี้เอง

ศิลปะที่ว่าพบในนี้เอง

ต่อจากนี้ก็ไปต่อช่วงบ่ายที่ ขอนแก่น

จากก่อนหน้านี้ช่วงพาเด็กดอยเข้าเมืองได้ผ่านปราสาทที่โคราชแห่งหนึ่งคือปราสาทพนมวัน ซึ่งถือว่าใหญ่โตพอสมควรเลย

ปราสาทพนมวัน (Prasat Phanom Wan)

ปราสาทพนมวันคาดว่าแต่เดิมเป็นอาคารอิฐก่อสร้างในสมัยทวารวดีราวปีพุทธศตวรรษที่ 15 แล้วมีการสร้างปราสาทหินทับในพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 ตามศิลาจารึกที่พบในบริเวณก่าวว่าที่นี่แต่ก่อนเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู แต่เปลี่ยนมาเป็นของพุทธ ในบริเวณมีโบราณสถานแห่งหนึ่งชื่อเนินอรพิม ที่เหลือแต่ฐาน และภายในมีการขุดพบซากโครงกระดูกก่อนประวัติศาสตร์ด้วย

ปราสาทพนมวัน

ปราสาทพนมวัน

บริเวณปราสาท

บริเวณปราสาท

กำลังซ่อมแซมพระปรางค์หลัก

กำลังซ่อมแซมพระปรางค์หลัก

อันนี้เหมือนเอามาใส่ใหม่

อันนี้เหมือนเอามาใส่ใหม่

ฝ่าเท้า

ฝ่าเท้า

มื้อเย็นแวะร้านนี้ ขาหมูไม่อร่อย แต่ซุปเอ็นหมู อร่อยแบบแปลกๆดี

มื้อเย็นแวะร้านนี้ ขาหมูไม่อร่อย แต่ซุปเอ็นหมู อร่อยแบบแปลกๆดี

ช่วงเก็บตกครับ ซึ่งก็ไปโคราชบ่อยเหมือนกันเลยได้เที่ยวละนิดละหน่อย

ปราสาทบ้านถนนหัก

ลักษณะเป็นปราสาทศิลาแลงแบบเขมรครับ คาดว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อประกอบพิธีทางฮินดูหรือพราหมณ์มหานิกาย

ปราสาทบ้านถนนหัก

ปราสาทบ้านถนนหัก

ลวดลายปราสาทที่ยังพอมีให้เห็นอยู่

ลวดลายปราสาทที่ยังพอมีให้เห็นอยู่

ปราสาทพะโค

แต่เดิมปราสาทนี้มีสามหลังครับเป็นรูปตัวที หลังใหญ่ตรงกลาง หลังเล็กขนาบสองข้างเหมือนกับปราสาทบ้านถนนหักครับ คือเป็นปราสาทศิลปเขมร สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อประกอบพิธีทางฮินดู

ทางเข้าค่อนข้างลึกลับ

ทางเข้าค่อนข้างลึกลับ

ปราสาทหลังไม่ใหญ่

ปราสาทหลังไม่ใหญ่

ลายปูนปั้นที่พอเห็นในบริเวณ

ลายปูนปั้นที่พอเห็นในบริเวณ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์

พิพิธภัณฑ์เล็กๆในเมืองครับ ปัจจุบันหากไปคงยุบรวมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายไปแล้วล่ะ (ตอนไปพิพิธภัณฑ์ฯพิมายกำลังก่อสร้างอยู่ ไว้มีโอกาสไปเยือนจะเก็บรูปมาฝากครับ)

SONY DSC

SONY DSC

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ไม่ใหญ่ครับ

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ไม่ใหญ่ครับ

ห้องมีเท่านี้

ห้องมีเท่านี้

ของภายในก็น่าดูเหมือนกัน จิ๋วแต่แจ๋ว

ของภายในก็น่าดูเหมือนกัน จิ๋วแต่แจ๋ว

ชิ้นใหญ่ๆก็มี ดูดีกว่าที่ไชยาซะอีก

ชิ้นใหญ่ๆก็มี ดูดีกว่าที่ไชยาซะอีก

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม

สำหรับสถานที่ที่เก่าที่สุดของโคราชก็ที่นี่เลยครับ ภาพเขียนสีเขาจันทร์งามสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 3000-4000 ปีก่อน

วัดนี้อยู่ช่วงขากลับเข้ากรุงเทพครับ

วัดนี้อยู่ช่วงขากลับเข้ากรุงเทพครับ

ภาพเขียนสีชัดเจน

ภาพเขียนสีชัดเจน

ถ่ายขยายบริเวณครับ

ถ่ายขยายบริเวณครับ

ทางเดินเข้าไปดูพระนอนกับพระบาท 5 รอย

ทางเดินเข้าไปดูพระนอนกับพระบาท 5 รอย

พระนอน...

พระนอน…

พระบาทขั้นบันได...

พระบาทขั้นบันได…

จากเก่าสุดมายุคโบราณ คราวนี้มาเก่าแบบกลางๆกับผู้ที่ชาวโคราชนับถือมากที่อนุสาวรีย์ย่าโม

ท้าวสุรนารีหรือย่าโม (พ.ศ. 2314-2395) มีวีรกรรมจากการกอบกู้โคราชจากเจ้าอนุวงศ์แห่งลาวในการต่อสู้ที่ทุ่งสัมฤทธิ์เมื่อปี พ.ศ.2369 ครับ ปัจจุบันอัฐิของย่าโมอยู่ใต้ฐานอนุสาวรีย์นั่นแหล่ะ แต่ก็ฟังหูไว้หูบ้างก็ว่าวีรกรรมนั้นเป็นแค่อุบายชาตินิยมของจอมพล ป.เท่านั้น เนื่องจากก่อนปีพ.ศ. 2475 นั้นไม่เคยมีการกล่าวถึงวีรกรรมนี้มาก่อนเลย และข้อสังเกตุอีกอย่างช่วงนั้นวีรสตรีของผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เพื่อเป็นการเชิดชูวีรกรรมจากประชาชนนอกจากกษัตริย์ที่เคยอ่านๆกันน่ะนะ

อนุสาวรีย์ย่าโม

อนุสาวรีย์ย่าโม

ประตูเมืองเก่า

ประตูเมืองเก่า

แถวนั้น

แถวนั้น

อาคารวีรกรรม

อาคารวีรกรรม

รูปปั้นตัวเล็กแสดงประวัติและวีรกรรมต่างๆ

รูปปั้นตัวเล็กแสดงประวัติและวีรกรรมต่างๆ

ภาพเมืองแต่ก่อน

ภาพเมืองแต่ก่อน

รูปปั้นฝาผนัง

รูปปั้นฝาผนัง

จี๋ๆๆ

จี๋ๆๆ

มาแถวนี้แล้วต้องไม่พลาดไก่ย่างแสงไทยครับ ใส่ห่อกลับบ้านเท่านั้น ซึ่งผมลองแล้ว ...มันเค็มมาก

มาแถวนี้แล้วต้องไม่พลาดไก่ย่างแสงไทยครับ ใส่ห่อกลับบ้านเท่านั้น ซึ่งผมลองแล้ว …มันเค็มมาก

นั่งกินร้านมิตรดี คนขายเป็นมิตรตามชื่อครับ ส่วนอาหารก็เป็นมิตรกับลิ้น อร่อยดี

นั่งกินร้านมิตรดี คนขายเป็นมิตรตามชื่อครับ ส่วนอาหารก็เป็นมิตรกับลิ้น อร่อยดี

ขนมเห็นแล้วอยากกินเฉยๆ ก้อร่อยดี

ขนมเห็นแล้วอยากกินเฉยๆ ก้อร่อยดี

หลังจากยุคเก่า กลางเก่า มายุคใหม่กันมั่ง

วิวงามระหว่างทางประตูสู่อีสานที่ลำตะคอง

วิวงามระหว่างทางประตูสู่อีสานที่ลำตะคอง

อันนี้จากขากลับครับ (ไม่ควรทำ)

อันนี้จากขากลับครับ (ไม่ควรทำ)

มอปลาย่าง คงไม่ปัจจุบันแล้วล่ะ ปัจจุบันโดนรื้อไปละ

มอปลาย่าง คงไม่ปัจจุบันแล้วล่ะ ปัจจุบันโดนรื้อไปละ

ตอนนั้นหน้าหนาวยืนชิดกันเชียว

ตอนนั้นหน้าหนาวยืนชิดกันเชียว

ชื่อจริงไม่รู้ครับ ชอบเรียกวัดสรพงษ์

ชื่อจริงไม่รู้ครับ ชอบเรียกวัดสรพงษ์

เข้าไปทีไรเจอตัวจริงตลอดครับ

เข้าไปทีไรเจอตัวจริงตลอดครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมศิลปากร

One response to “นครราชสีมาโบราณ

  1. Pingback: อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย | Blog my Log·

Leave a comment