อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กรุงสุโขทัย ราชธานีแห่งแรกของไทย …จากความทรงจำในแบบเรียนฉบับชาตินิยม ความจริงก็อยู่ช่วงเดียวกับพวกละโว้ อโยธยา หรือเชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน บลาๆๆน่ะแหล่ะ แต่ยังงั้นมันต้องแยกเนื้อเรื่องเป็นแบบขนานเข้าใจลำบาก ที่จริงแคว้นการปกครองต่างๆในไทยเพิ่งมารวมเป็นอาณาจักรใหญ่ก็สมัยอยุธยา เรียกว่าเป็นราชอาณาจักรสยามนี่แหล่ะ (แต่ช่วงอยุธยาก็ยังมีโอเวอร์แลปกับสุโขทัยอยู่ช่วงนึง) รวมแล้วน่าจะประมาณนี้

ข้อมูลจาก wikipedia เอามาเรียงใหม่

ข้อมูลจาก wikipedia เอามาเรียงใหม่

ถ้ารวมเอาเหนือ-ใต้ทั้งหมดคล้ายรูปร่างปัจจุบันจริงก็ตอนสมัยธนบุรีนั่นล่ะมั้งที่ขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2317 (ล้านนาถูกพม่ายึดในปี พ.ศ. 2010 หลังจากนั้นก็ถูกใช้เป็นฐานที่มั่นในการยกทัพมาตีอยุธยาเรื่อยมา) ปราบชุมนุมพิมายปี พ.ศ. 2311 หรือชนะเจ้านครศรีธรรมราชที่ภาคใต้ในปี พ.ศ. 2312 รวมทั้งไล่ตีพม่ายันเวียดนาม …เดี๋ยวนอกเรื่องไปยาวถ้าสนใจ อ่านเพิ่มเติมทางนี้ ละกัน สรุปว่าถ้านับสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทยก็ไม่น่าถูกแล้วล่ะ ควรเป็นอยุธยามากกว่า

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทริปต่อเนื่อง 3 วัน 3 อุทยาน จากครั้งก่อน อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร คราวนี้มาถึงสุโขทัยบ้าง (และคราวหน้าศรีสัชนาลัย) โดยทั้งสามที่ (อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย) นับรวมเป็น 1 มรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ภายใต้ชื่อของ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)

ชื่อสุโขทัยนี้มีสองแบบถ้าอิงตามชื่อปัจจุบันก็หมายถึง (สุโข + อุทัย) คือรุ่งอรุณแห่งความสุข แต่ถ้ายึดตามศิลาจารึกชื่อเดิมนั้นคือ “สุโขไท” แปลว่าดินแดนที่ผู้คนอาศัยอย่างมีความสุข

ราชวงศ์สุโขทัยมีสองสาย เดิมนั้นสุโขทัยปกครองโดยพ่อขุนศรีนาวนำถุม (ในบทเรียนโดนตัดทิ้งไปเฉยเลย) ในช่วงเวลาสั้นๆ พอสิ้นพระชนม์เมืองสุโขทัยก็ตกเป็นของ ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งน่าจะเข้ามายึดเมือง แต่สุดท้ายแล้ว บุตรของพ่อขุนนาวนำถุมนามว่า พ่อขุนผาเมืองพร้อมด้วยพระสหายชื่อพ่อขุนบางกลางหาวก็ช่วยกันตีเมืองสุโขทัยกลับคืนมาได้  แต่ก็ยังเป็นปริศนาอยู่ที่ว่าเมื่อตีเมืองคืนมาได้แล้วนั้นพ่อขุนผาเมืองกลับยกเมืองสุโขทัยพร้อมกับพระแสงขรรค์ศรีชัยที่ได้รับมาจากกษัตริย์เมืองพระนคร (ขอม) ชื่อว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” ให้แก่พ่อขุนบางกลางหาวแล้วใช้ชื่อใหม่ว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” หลังจากนั้นสุโขทัยก็ปกครองโดยราชวงศ์ศรีอินทราทิตย์ (หรือราชวงศ์พระร่วง) มาโดยตลอด แต่ทางราชวงศ์ศรีนาวนำถุมก็ไม่ได้หายไปไหนยังมีบทบาทในฐานะอำนาจอีกขั้วหนึ่งอยู่ (เนื้อเรื่องขัดกันใช่ป่ะ ถ้าจะให้เดาเนื้อเรื่องเองเราว่าพ่อขุนผาเมืองอาจจะยกสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว แล้วตัวเองไปมีอำนาจกับทางพระนครแทน ซึ่งได้สมรสกับนางสุขรมหาเทวีพระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่เมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายประกอบกับสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองทำให้รัชทายาทราชวงศ์ศรีนาวนำถุมต้องการทวงสิทธิในการครองเมืองสุโขทัยขึ้นมา)

ครั้งนี้นับเป็นการมาเยือนครั้งที่สอง หลังจาก ครั้งแรกเมื่อปี 2009 แวะแบบทางผ่านหลังจากเที่ยวภาคเหนือแล้ววันสุดท้ายไม่มีที่ไป มาครั้งนี้แวะแบบตั้งใจ …เพราะเพิ่งจะสนใจอุทยานประวัติศาสตร์ไม่นานนี้เอง

แผนผังอุทยานและสถานที่ คลิกที่นี่

ก่อนออกเดินทางก็ชูกำลังก่อน

ก่อนออกเดินทางก็ชูกำลังด้วยต้มเลือดหมูก่อน

วัดตระพังทอง

วัดตระพังทองนี้มีรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย จำหลักมงคล 108 ประการ ซึ่งได้ย้ายมาจากเขาพระบาทใหญ่ ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างประดิษฐานไว้ ณ เขาสุมนกูฏ เมื่อปี พ.ศ. 1902 ที่ตัวอุโบสถยังดูใหม่สมบูรณ์อยู่นั้นเป็นเพราะเมื่อประมาณ 90 ปีก่อนพญารณชัยชาญยุทธ (ครุฑ) เจ้าเมืองสุโขทัยมาบวชเณรและเรี่ยไรเงินสร้างบนฐานโบสถ์เก่า

รถท้องถิ่นกับแสงยามเช้า (สายนิดนึง)

รถท้องถิ่นกับแสงยามเช้า (สายนิดนึง)

ต้องข้ามสะพานไป

ต้องข้ามสะพานไป

เจดีย์วัด

เจดีย์วัด เขาว่ารอบเจดีย์ประธานมีเจดีย์ล้อมรอบอีก 8 องค์ แต่ตอนไปไม่ได้สังเกตุ

หลังจากเดินเที่ยววัดตระพังทองเสร็จแล้วก็มุ่งหน้าไปยังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย …แต่ไปเช้าเกินยังไม่เปิดเลยจอดแถวนั้นสักพัก

ระหว่างรอก็ถ่ายรูปแถวนั้น อันนี้เจดีย์วัดไรไม่รู้ น่าจะเป็นวัดสระศรีล่ะมั้ง

ระหว่างรอก็ถ่ายรูปแถวนั้น อันนี้เจดีย์วัดไรไม่รู้ น่าจะเป็นวัดสระศรีล่ะมั้ง

วัดศรีชุม

เนื่องจากตั้งกะตอนไปอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรไปพบทัวร์กลุ่มใหญ่กลุ่มนึง เลยคิดไว้เลยว่าต้องมาเจอที่นี่อีกแน่ๆ (แล้วก็เจอจริงๆ) ดังนั้นจึงรีบไปวัดศรีชุมที่บริเวณไม่กว้างก่อนกลุ่มทัวร์จะมาดีกว่า แต่ถึงกระนั้นก็เจอ “ช่างภาพมือโปร” อยู่ดี สงสัยพวกนี้จริงถ่ายไรทำไมต้องนาน ถ่ายช้าไม่ว่าแต่ดันยืนแช่มุม ดูรูปขวางๆแล้วถ่ายใหม่อีก เจอทุกที่ …หรือเราถ่ายรูปเร็วไปหว่า เหมือนกดมั่ว เพราะมักง่ายเลยถ่ายรูปไม่สวยซักที 555 เอ้า นอกเรื่องไปยาว มาดูวัดศรีชุมหนึ่งในไฮไลท์ที่ต้องเข้าชมแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์นี้เลย

ไฮไลท์ของวัดนี้อยู่ที่ พระอจนะ (ผู้ไม่หวั่นไหว) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ชัดเจน ไฮไลท์อีกอย่างของวัดนี้คือทางลับภายใน ซึ่งเดินเข้าจนถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่อายุราว 700  ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวกากเข้าไปแล้วขี้เยี่ยวขีดเขียน จนต้องปิดไม่ให้คนเข้า ถ้าจะเอาบรรยากาศต้องไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงเขามีช่องบันไดจำลองให้เดิน เขาว่าเหตุที่ต้องสร้างทางลับเพราะพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง เวลาจะปลุกในทหารด้วยการเข้าไปภายในแล้วพูดให้เหมือนราวกับพระอจนะเป็นคนพูด จากลักษณะอาคารที่ไม่มีหน้าต่างเวลาพูดเสียงคงกังวาน่าเกรงขาม อารมณ์ประมาณที่ถ้ำอะชันตาประเทศอินเดียล่ะมั้ง เขาเดาว่าแต่ก่อนลักษณะหลังคาน่าจะเป็นโดม แต่เราว่าด้วยความรู้คนไทยสมัยนั้น โครงสร้างโดมโค้งยังไม่เข้ามาหรอกนะ เจดีย์ระฆังคว่ำน่ะพอได้ แต่เคยเห็นศิลปะไทยเก่าๆที่เป็นโดมกันไหมล่ะ

ตั๋วมีสองราคามีแบบเข้าเฉพาะที่กับแบบรวมไปได้ทุกที่

ตั๋วมีสองราคามีแบบเข้าเฉพาะที่กับแบบรวมไปได้ทุกที่

วิหารเล็ก ?

วิหารเล็ก ?

องค์พระอจนะภายในวิหาร หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร...วิหารไม่เล็กหรอก ต้นไม้ข้างๆใหญ่มากตะหาก

องค์พระอจนะภายในวิหาร หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร…วิหารไม่เล็กหรอก ต้นไม้ข้างๆใหญ่มากตะหาก

ที่ทางเข้าด้านซ้ายจะมีประตูเล็กๆอยู่ตรงกำแพง ปัจจุบันล็อคเรียบร้อย

ที่ทางเข้าด้านซ้ายจะมีประตูเล็กๆอยู่ตรงกำแพง ปัจจุบันล็อคเรียบร้อย

พระอจนะ แห่งวัดศรีชุม

พระอจนะ แห่งวัดศรีชุม

ลืมเอาเลนไวดืไปก็พาโนแทนไปก่อน (ลืมถ่ายมุมมหานิยม "เน้นที่มือ")

ลืมเอาเลนไวด์ไปก็พาโนแทนไปก่อน

ถ่ายด้วยมือถือสักหน่อย หมุนให้รอบ by photosynth

วัดเตาทุเรียง

ตั้งอยู่เหนือคูแม่โจน (คูของวัดพระพายหลวง) อยู่ในบริเวณเตาเผาเครื่องสังคโลก จึงคาดว่าสร้างหลังจากเลิกผลิตเครื่องสังคโลกแถวนี้แล้ว เขาว่าจากหลักฐานทางรูปถ่ายเก่าด้านหลังวิหารมีลายปูนปั้นพระพุทธรูปปางมารวิชัยรายล้อมด้วยเหล่าเทพเทวดาพนมมือ แต่ตอนนี้หักพังหายไปหมดแล้ว

เหลือแต่ฐาน

เหลือแต่ฐาน

วัดพระพายหลวง

ในอุทยานประวัติศาสตร์นี้ที่นี่เขาว่ามีความสำคัญวัดมหาธาตุ จากขนาดวัด และบริเวณอันกว้างขวาง มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน ไฮไลท์ของวัดนี้คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4  อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน

อีกวัดหนึ่งที่ต้องข้ามน้ำ

อีกวัดหนึ่งที่ต้องข้ามน้ำ

วัดใหญ่อีกวัดหนึ่ง

วัดใหญ่อีกวัดหนึ่ง

ร่องรอยพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ

ร่องรอยเจดีย์เก่า

ร่องรอยเจดีย์เก่า

ด้านหลังมีส่วนอุโบสถกับพระปรางค์

ด้านหลังมีส่วนอุโบสถกับพระปรางค์

...

พระพุทธรูป

ซากพระพุทธรูป

ซากพระพุทธรูป

ขากลับวัวเยอะแยะ เสียวเดินผ่านแล้วมันวิ่งชนจัง

ขากลับวัวเยอะแยะ เสียวเดินผ่านแล้วมันวิ่งชนจัง

วัดแม่โจน

ลักษณะวัดเป็นอย่างที่เห็นในรูปแหล่ะ

วัด...

วัดแม่โจน

วัดตระพังป่าน

อันนี้เมื่อยขี้เกียจลง นั่งรอบนรถ

วัด...

วัดตระพังป่าน

วัดซอนข้าว

วัดนี้มีเจดีย์ประธานลักษณะเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม ชื่อและหลักฐานไม่ปรากฎในศิลาจารึก ได้แต่คำบอกเล่าของชาวท้องถิ่น (มีป้ายใกล้พออ่านได้ก็พิมพ์ซักหน่อย 555)

วัด...

วัดซอนข้าว

วัดสรศักดิ์

ประวัติตามศิลาจากรึกวัดสรศักดิ์กล่าวว่านายอินทสรศักดิ์ได้รับที่ดินมาจากออกญาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยให้สร้างวัดถวาย เมื่อสร้างเสร็จก็นิมนต์พระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ ผู้เป็นน้าของออกญาธรรมราชาให้มาจำพรรษาที่วัดนี้ ต่อมาสมัยสมเด็จเจ้าสามพระยายังทรงพระเยาว์ได้มาทำบุญที่นี่ในปี พ.ศ. 1959 พร้อมกับแม่และน้า และพักที่พระตำหนักหัวสนามเก่าทางทิศตะวันตกติดกับวัดสรศักดิ์

วัดสรศักดิ์

วัดสรศักดิ์ เจดีย์ประธานทรงระฆัง (ทรงลังกา) มีช้างรอบตามควมเชื่อว่าช้างเป็นพาหนะของพระเจ้าจักรพรรด์ที่คู่ควรกับการเป็นพาหนะค้ำจุนพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยิ่งๆ 5,000 ปี

วัดมหาธาตุ

วัดเอกของอุทยานแห่งชาติสุโขทัย บริเวณกว้างใหญ่มาก ตอนไปครั้งก่อนรีบกลับเลยได้ลง “วิ่ง” ไม่ถึงห้านาที ที่นี่มีเจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ รอบๆทั้งสี่ทิศมีพระปรางค์ศิลปะขอม ที่มุมทั้งสี่ก็มีเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดศิลปะล้านนาอีก รอบฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นพระสาวกในท่าอัญชุลีเดินประทักษิณจำนวน 168 รูป มีมณฑป 2 หลังขนาบเจดีย์ประธานภายในประดิษฐานพระอัฏฐารศ หรือพระพุทธรูปยืนสูง 12 เมตร ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นที่ตั้งของวิหารหลวงสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ (หรือที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 เรียกว่าพระพุทธรูปทอง) แต่ปัจจุบัน ร.1 เอาไปตั้งไว้ในวัดสุทัศฯที่กรุงเทพแล้ว

มุมมหาชน วัดมหาธาตุ

มุมมหาชน วัดมหาธาตุ

...

เจดีย์ในวัดมหาธาตุเขาว่ามีสัก 200 องค์ได้

...

...

ครั้งหนึ่งที่นี่เคยมีพระอยู่…

...

พระอัฏฐารศ สูง 12 เมตร

เห็นชาวต่างชาติสนใจศิลปะบ้านเราแล้วภูมิใจเล็กๆ

เห็นชาวต่างชาติสนใจศิลปะบ้านเราแล้วภูมิใจเล็กๆ

เดินพอเมื่อย แต่อย่าเพิ่งเหนี่ย ยังมีอีกหลายที่

เดินพอเมื่อย แต่อย่าเพิ่งเหนี่อย ยังมีอีกหลายที่

ก่อนไปอีกสักรูปกับความยิ่งใหญ่ของวัดหลวงสมัยสุโขทัย

ก่อนไปอีกสักรูปกับความยิ่งใหญ่ของวัดหลวงสมัยสุโขทัย

เนินปราสาท

ที่นี่มีการพบแท่นมนังศิลาบาตรที่ศิลาจารึกหลักที่หนึ่งกล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุนั่งเทศนาธรรมในวันพระ และเป็นที่ประทับนั่งว่าราชการของพ่อขุนรามคำแหงในวันธรรมดา และศิลาจารึกยังบอกอีกว่าพ่อขุนรามปลูกต้นตาลไว้ในที่แห่งนี้ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้วกรมศิลปากรเลยจัดให้

พระราชวังที่ประทับกษัตริย์สมัยนั้น แต่ก่อนกษัตริย์จะเน้นที่วัดทำด้วยปราสาทอิฐ ส่วนวังจะเป็นฐานอิฐเรือนไม้ จึงเป็นเหตุผลให้วังสมัยก่อนในปัจจุบันเหลือแต่ฐาน

พระราชวังที่ประทับกษัตริย์สมัยนั้น แต่ก่อนกษัตริย์จะเน้นที่วัดทำด้วยปราสาทอิฐ ส่วนวังจะเป็นฐานอิฐเรือนไม้ จึงเป็นเหตุผลให้วังสมัยก่อนในปัจจุบันเหลือแต่ฐาน

วัดศรีสวาย

พระปรางค์เด่นเป็นสง่าทั้งสามองค์รูปแบบศิลปะลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม มีลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ที่มีรูปสลักทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ คาดว่าแต่ก่อนอาจสร้างมาเพื่อเป็นเทวสถานทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แล้วเปลี่ยนเป็นวัดของพุทธทีหลัง

วัดศรีสวาย

วัดศรีสวาย

ความโดดเด่นของที่นี่คือพระปรางค์แบบขอม

ความโดดเด่นของที่นี่คือพระปรางค์แบบขอม

วัดตระพังเงิน

วัดนี้ไม่มีกำแพง มีเพียงลำน้ำล้อมอันเป็นชื่อของวัด (ตระพังภาษาขอมแปลว่าน้ำ) อากาศร้อนเลยถ่ายห่างๆพอ 555

วัดตระพังเงิน

วัดตระพังเงิน

วัดสระศรี

วัดสระศรีตั้งอยู่กลางสระน้ำที่ใหญ่ที่สุดของที่นี่ที่ชื่อว่า ตระพังตระกวน ที่เห็นแต่ไกลในรูปตอนแรก น่ะแหล่ะ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ระฆังทรงลังกา ตัวอุโบสถตั้งอยู่กลางสระน้ำ เพราะเชื่อว่าน้ำมีความหายถึงความบริสุทธิ์ของขอบเขตที่กันสำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกว่า นทีสีมา หรือ อุทกสีมา

เจดีย์ในบริเวณมี 9 องค์

เจดีย์ในบริเวณมี 9 องค์

เจดีย์ทรงลังกาแห่งสุโขทัย

เจดีย์ทรงลังกาแห่งสุโขทัย

พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

อุโบสถสร้างกลางน้ำตามหลักคิดทางพุทธศาสนาประมาณว่าบริสุทธิ์

อุโบสถสร้างกลางน้ำตามหลักคิดทางพุทธศาสนาประมาณว่าบริสุทธิ์

ถนนรอบสระสร้างใหม่หลังจากตอนแรกตัดถนนผ่าวัดเฉยเลย

ถนนรอบสระสร้างใหม่หลังจากตอนแรกตัดถนนผ่าวัดเฉยเลย

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมืองเก่า แผ่นศิลาข้างบนคาดว่าเป็นที่วางดวงเมือง

ศาลหลักเมืองสุโขทัย

ศาลหลักเมืองสุโขทัย

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง

สร้างในสมัยจอมพลถนอม 26 พ.ย. 2512 เพื่อสักการะพ่อขุนรามคำแหง

พ่อขุนรามคำแหงมีชื่อเสียงโด่งดังจากการประดิษฐ์อักษรไทย จนบางทีลืมไปว่าเรื่องรบก็เก่งมากนะ

พ่อขุนรามคำแหงมีชื่อเสียงโด่งดังจากการประดิษฐ์อักษรไทย จนบางทีลืมไปว่าเรื่องรบก็เก่งมากนะ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

ที่นี่แนะนำให้ไป แต่ข้างในห้ามถ่ายรูป

คุ้มค่าเข้าแน่นอน

คุ้มค่าเข้าแน่นอน

มื้อเที่ยงก็ต้องก๋วยเตี๋ยวเรือสุโขทัยแถวนั้นแหล่ะ น่าหงุดหงิดโต๊ะหลังนิดหน่อย (ผู้หญิงปากจัดมากับฝรั่ง พอเดาได้ว่าอาชีพอะไร เดินไปมา มีหันมามองโต๊ะอีก เลยแกล้งพูดลอยๆไป มาหลังเสือกจะเอาก่อน เออ เงียบได้ กะหรี่เอ๊ย

มื้อเที่ยงก็ต้องก๋วยเตี๋ยวเรือสุโขทัยแถวนั้นแหล่ะ ร้านนี้ไม่อร่อยเท่าไหร่ พอกล้อมแกล้ม

วัดมุมลังกา

กินก๋วยเตี๋ยวเสร็จก็มาเที่ยวต่อช่วงบ่าย วัดมุมลังกาเหลือแต่ฐาน ตามศิลาจากรึกวัดอโสการามเดากันว่าที่นี่อาจเป็นวัดลังการามหรือบูรพารามก็เป็นได้

วัดมุมลังกา

วัดมุมลังกา

ถ้ำแม่ย่า

พระแม่ย่าเป็นรูปสลักหินชนวน เขาว่าคือพระนางเสือง แม่ของพ่อขุนรามคำแหง เพราะพ่อขุนรามคำแหงเป็นพ่อของประชาชน (ระบอบพ่อปกครองลูก) ดังนั้น แม่ของพ่อคนเลยเรียกว่า ย่า หรือ แม่ย่า ปัจจุบันย้ายไปที่ศาลพระแม่ย่าไว้ให้คนกราบไหว้ง่ายๆ

ถ้ำแม่ย่า

ถ้ำแม่ย่า

บันไดดูไม่มีราคาเท่าไหร่

บันไดดูไม่มีราคาเท่าไหร่

ภายในอย่างที่เห็น

ภายในอย่างที่เห็น

วัดสะพานหิน

วัดสะพานหินตั้งอยู่บนเนินสูง 200 เมตร ชื่อวัดก็มาจากทางเดินหินยาวประมาณ 300 เมตรนี่แหล่ะ ระหว่างทางขึ้นมีเจดีย์เล็กทรงดอกบัวตูมอยู่ บนยอดมีพระพุทธรูปประทับยืน ปางอภัยทานขนาดใหญ่ ซึ่งตรงกับศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ว่าทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยนี้มีพระอัฏฐารศสูงใหญ่อยู่ และนาจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงทรงช้างเผือกชื่อรูจาครีเพื่อไปพบพระในวัดนี้ทุกวันพระ ข้างขึ้นแรม 15 ค่ำ

วัดสะพานหิน กว่าจะขึ้นถึงเอาเหนื่อยเหมือนกัน

วัดสะพานหิน กว่าจะขึ้นถึงเอาเหนื่อยเหมือนกัน

ข้างบนมีพระพุทธรูปปางประทานอภัย

ข้างบนมีพระพุทธรูปปางประทานอภัย

...

วัดอรัญญิก

ที่นี่ไม่มีอะไร เหลือให้เห็นแต่ฐานกุฏิพระเล็กๆสมัยก่อน

บ่ายๆขี้เกียจลงจากรถละ มีพี่ที่ยังขยันลงไปถ่ายทุกวัด (ที่แวะ) เลย

บ่ายๆขี้เกียจลงจากรถละ มีพี่ที่ยังขยันลงไปถ่ายทุกวัด (ที่แวะ) เลย

วัดป่าแดง

วัดป่าแดงเป็นวัดเล็กๆในเขตอรัญญิกจากการขุดแต่งและสถาปัตยกรรมเดาว่าสร้างในยุคสุโขทัยตอนปลาย

วัดป่าแดง

วัดป่าแดง

วัดเจดีย์งาม

คล้ายกับวัดสะพานหินอยู่บนเนินเตี้ยๆทางเดินปูด้วยหินชนวนข้างบนมีเจดีย์ประธานทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ฐานชั้นล่างมีซุ้มพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน วิหารก่อด้วยศิลาแลง กุฏิสงฆ์สำหรับวิปัสนาธรรม

วัดเจดีย์งาม

วัดเจดีย์งาม

วัดถ้ำหีบบน

อยู่บนเนินเตี้ยๆใกล้กับวัดถ้ำหีบล่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาประทักษ์ ทางเดินปูหินยาวประมาณ 200 เมตร ส่วนองค์ประกอบวัดก็ทั่วๆไป มีเจดีย์ประธาน วิหาร และกุฏิสงฆ์

วัดถ้ำหีบบน

วัดถ้ำหีบบน

วัดถ้ำหีบ

เหมือนกับอันบน

วัดถ้ำหีบ

วัดถ้ำหีบ

ต้นไม้ขึ้นบนกำแพงวัด

ต้นไม้ขึ้นบนกำแพงวัด

วัดมังกร

วัดนี้มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐประดับซี่ลูกกรงด้วยเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ชื่อนี้ได้มาเพราะพบประติมากรรมมังกรดินเผาเคลือบแบบเครื่องสังคโลกนั่นเอง

วัดมังกร

วัดมังกร

วัดพระยืน

วัดพระยืน

วัดพระยืน

วัดป่าสัก

วัดป่าสัก

วัดป่าสัก

วัดหนองป่าพง

วัดหนองป่าพง

วัดหนองป่าพง

วัดศรีโทน

วัดศรีโทน

วัดศรีโทน

วัดตึก

มณฑปทางทิศใต้ของวัดนี้มีภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่ก่อนเขาว่าสวยสมบูรณ์มาก แต่ตอนนี้เสียหายหมดแล้ว อยากดูไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีรูปเมื่อ 90 ปีก่อน

วัดตึก

วัดตึก

วัดป่าไผ่

เจอป้ายไม่เจอวัด เจอแต่กอไผ่เห็นฐานอิฐไกลๆก้ถือว่าใช่อันนี้ละกัน

วัดป่าไผ่

วัดป่าไผ่

ประตูเมืองเดิม

ประตูเมืองเดิม

ป้อมประตูเมือง

ป้อมประตูเมือง

วัดก้อนแลง

วัดก้อนแลง

วัดก้อนแลง

วัดต้นจันทร์

เหมือนกับโบราณสถานหลายที่คือไม่มีประวัติเหลือเพียงซากเจดีย์ แต่ในวัดต้นจันทร์นี้พิเศษตรงมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาที่เรียกว่า เสน่ห์จันทร์ อันมีชื่อเสียงของสุโขทัย

วัดต้นจันทร์

วัดต้นจันทร์

วัดเจดีย์สี่ห้อง

ภายในมีปูนปั้นช้าง สิงห์ และคนสวมชุดและเครื่องประดับต่างๆ ในมือถือหม้อปูรณฆฏะมีพันธุ์ไม้งอกงามออกมาแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ โดยคนเหล่านี้สังเกตุดีๆจะเห็นร่องรอยนาคหลายเศียรแผ่อยู่วึ่งอาจคือมนุษยนาค เพราะว่าคนแต่ก่อนจะมีผังคอและสแตนด์งูหลายหัวคุ้มครองอยู่ (วรรคหลังนี้มั่ว 555) มนุษยนาคหมายถึงเทพในโลกบาดาลตามความเชื่อในลังกาตะหาก

วัดเจดีย์สี่ห้อง

วัดเจดีย์สี่ห้อง

เสร็จแล้วชมวิวระหว่างทางก็สวยดี

เสร็จแล้วชมวิวระหว่างทางก็สวยดี

ใบหญ้าพริ้วตามลม

ใบหญ้าพริ้วตามลม

แหะๆ ที่จริงหลงทางน่ะ ยังดีมี nokia drive หาทางกลับได้

แหะๆ ที่จริงหลงทางน่ะ ยังดีมี nokia drive หาทางกลับได้

เที่ยวอิ่มจนเปื่อยแล้วก็หาที่นอน โดยคืนนี้ตัดสินใจกันว่าจะไปพักที่เมืองศรีสัชนาลัยจะได้ตื่นมาเที่ยวแต่เช้ากัน ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยประมาณ 60 กิโลเมตร

ราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิศโดยบังเอิญ

อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิศโดยบังเอิญที่วัดคุ้งวารี จะแวะหาข้าวกินเฉยๆ แต่ไม่เจอ

คืนนี้พักที่มุกดา รีสอร์ทคืนละ 4 หรือ 500บาทจำไม่ได้ แต่สะอาด กว้างขวางดี นอนสามคนได้

คืนนี้พักที่ข้างๆมุกดารีสอร์ท (จำชื่อไม่ได้) คืนละ 400 – 500บาท แต่สะอาด กว้างขวางดี นอนสามคนได้

แถวนั้นมีร้าน ป.ทะเลเผา รสชาติอร่อยดี มาเหนือทั้งทีต้องอาหารทะเล 555

แถวนั้นมีร้าน ป.ทะเลเผา รสชาติอร่อยดี มาเหนือทั้งทีต้องอาหารทะเล 555

นอนพักเก็บแรงก่อนเที่ยวต่อในวันพรุ่งนี้กับตอนปิดท้าย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมศิลปากร museum press และจังหวัดสุโขทัย

One response to “อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

  1. Pingback: Travel Wish list ประเทศไทย | Log 2 Blog·

Leave a comment